ตะคริว หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Muscle cramps เกิดจากอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ๆ และจะมีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อส่วนนั้นตามมา อาการนี้จะเป็นไม่นาน แต่อาจเป็นบ่อยถ้ากล้ามเนื้อส่วนนั่นมีอาการหดเกร็ง ตะคริวสามารถเป็นได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นตอนกลางคืน และช่วงที่ออกกำลังกาย
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อไม่ได้มีการยืดตัว ทำให้เส้นประสาทการยืดตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ขาดการไหลเวียนของเลือด ที่นำส่งออกซิเจนไปที่กล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดตะคริวในส่วนนั้น
ในการดูแลเบื้องต้นของคนที่เป็นตะคริวก็คือ การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณนั้น โดยทำให้เกิดการเคลื่อนไหว บริเวณตรงกันข้ามกับที่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อ อย่าใช้การกระตุกหรือการดึงกระชากอย่างรุนแรง เพราะอาจจะทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้
มาดูวิธีการป้องกันตะคริวกันค่ะ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ฝึกการยืดคลายกล้ามเนื้อ อาจจะใช้การฝึกแบบโยคะ ค่อย ๆ ฝึกผ่อนคลายเส้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะแคลเซียม
- สำหรับผู้สูงอายุแนะนำให้ค่อย ๆ ขยับแขน ขา เคลื่อนไหวในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- หลีกเลี่ยงอากาศเย็นจัด
- หลีกเลี่ยงการใส่ร้องเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน ๆ ควรหาร้องเท้าที่สวมใส่พอเหมาะ เวลานอนก็ควรใส่ถุงเท้าเพื่อหลีกเลี่ยงความเย็น
เป็นตะคริวบ่อยควรทานอะไรดี ? เป็นคำถามที่คนส่วนมากชอบถามกัน วันนี้เอาคำตอบมาให้แล้วค่ะ
ตะคริว ส่วนมากมาจากขาดแคลเซียม มีการสร้างแคลเซียมตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ แต่แคลเซียมจะเริ่มลดลงประมาณอายุ 30 ปี ควรบำรุงก่อนเข้าสู่วัยทอง
อาหารที่มีแคลเซียมได้แก่
- ปลาและสัตว์ตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งกระดูกหรือเปลือก
- นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม ได้แก่ ชีส โยเกิร์ต
- นมถั่วเหลืองที่มีการเสริมแคลเซียม หรือเต้าหู้อ่อน เต้าหู้แข็ง
- ผักใบเขียว เช่น ผักกาดเขียว คะน้า กวางตุ้ง ในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย
แต่ถ้าทานแคลเซียม และยังมีอาการตะคริวแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ อาจต้องเจาะดูเกลือแร่และระดับแคลเซียมในเลือดค่ะ
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียมเพื่อช่วยลดอาการตะคริว
อ้างอิง
ขอขอบพระคุณข้อมูล
คุณหมอตั้ม กิฟฟารีน